วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของวิปัสสนา

ความหมายของวิปัสสนา

.............วิปัสสนา แปลว่า ความรู้แจ้งและเห็นจริง แยกคำว่า วิปัสสนาออกเป็นสองศัพท์ คือ วิ ศัพท์หนึ่งแปลว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง และ ปัสสนา ศัพท์หนึ่ง แปลว่าเห็นจริง ส่วนคำว่า วิปัสสนาจึงแปลว่า ความรู้แจ้งและเห็นจริง คือทั้งเห็นทั้งรู้ แต่ไม่มีญาณมาแยกแยะออกเป็นส่วนๆตามที่รู้ที่เห็นนั้น ผู้ที่มีญาณเท่านั้นจึงจะแยกแยะออกเป็นส่วนๆได้ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ คือ ความรู้สู่ความสำเร็จอย่างรู้แจ้งและเห็นจริง สามารถแยกแยะออกเป็นส่วนๆได้ เช่น แยกร่างกายออกเป็นธาตุ 4 เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟได้อย่างไม่สงสัย ผู้แยกได้อย่างนี้ จะมีจิตลดความกำหนดยินดี ลดการยึดติดในร่างกายต่อไป ในที่สุดก็จะกำจัดความยึดติดในร่างกายได้
              เพราะฉะนั้น คำว่า วิปัสสนา คือ ความรู้สู่ความสำเร็จ อย่างรู้แจ้งและเห็นจริง สามารถแยกแยะขันธ์ห้า อันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ได้จริง คำว่า ขันธ์ห้า คือที่รวมรูปกับนาม สามารถแยกรูปกับนามได้ตามเป็นจริงตามที่รู้และเห็น
คำว่ารูป คือ ร่างกาย เป็นที่รวมของธาตุทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ที่ผสมกันอยู่ในร่างกาย คำว่า นาม คือ ที่รวมของอาการกิริยา เช่น เวทนา คือ ความรู้สึก สัญญา คือ ความจำ สังขาร คือ การคิดปรุงแต่ง วิญญาณ คือ ความรู้ ทั้งรูปและนาม คือสาเหตุแห่งความทุกข์ที่แท้จริง ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา (โดยสรุปแล้วการยึดมั่นในขันธ์ทั้ง 5 เป็นสาเหตุแห่งทุกข์)
              ถ้าใครสามารถแยกขันธ์ทั้งห้า ออกได้ตามความเป็นจริงคือทั้งรู้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง แยกแยะขันธ์ทั้งห้าออกได้ ชื่อว่า วิปัสสนาญาณ เปรียบดังผู้มีความรู้เรื่องภาษาไทยอย่างแจ่มแจ้ง ย่อมแยกแยะสระและพยัญชนะได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ก็จะหายความสงสัยในภาษาไทยอย่างแน่นอน

ข้อมูลจาก...http://www.thaieditorial.com/

สุขจริง..หรือวิ่งคว้าลม

         .....คนทุกคนย่อมหวังชีวิตที่สวยงาม เกิดมาไม่อยากทุกข์ลำบากแต่ดูเหมือนเราวิ่งหาคำว่าสุขเหมือนใกล้แค่เอื้อม..แต่ไกลสุดตาไขว่ขว้าไม่ถึงซักที..เวลาของเราก็หมดเปล่าไปกับสิ่งไร้ประโยชน์นั้นๆ
        .....ถึงเวลาหรือยังที่จะเลิกคว้าลม มาสู่ความจริงที่จับต้องได้ให้ผลสุขอย่างแท้จริงเป็นที่พึ่งยามยากได้ด้วยการ รู้ตัว รู้จิต พิชิตความอยากทั้งหลาย..ขอแค่วางเป็นก็เย็นได้และเบาด้วยจริงใหม? ปฏิบัติธรรมหนีสุขและทุกข์กันเถิด.. ขนฺติธมฺมภิกขุ..Vi10